Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,595
กระทู้ทั้งหมด
10,026
หัวข้อทั้งหมด
4,711

  • การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi และ Software Unifi Controller Version 3
    เริ่มโดย yod
    Read 68,853 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

 

 

การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi และ Software Unifi Controller V.3



จากหัวข้อ การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi และ Software Unifi Controller ก็ผ่านมา 2 ปีกว่าแล้วครับ  และตอนนี้ทาง Ubiquiti ได้ออก Software Unifi Controller V.3 ออกมาแล้ว แต่ยังเป็นรุ่น 'a อยู่ แต่ไหนๆก็ทำใหม่แล้ว ขอเริ่มที่ Version 3 นี้เลยนะครับ  (ล่าสุดเป็น ตัว V3 เต็มแล้วครับ)


อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi จะแบ่งเป็น 4 รุ่นย่อย การ Config จะอยู่ในรูปแบบคล้ายๆกันทั้งหมด จะมีตรงส่วน Frequency ที่เป็น 5GHz สำหรับรุ่น Unifi Pro

Ubiquiti UniFi Access Point ภายในอาคาร ความเร็วสูง 300Mbps 2.4GHz กำลังส่ง 200mW
Ubiquiti UniFi Pack 3 ชุด
Ubiquiti UniFi Long Range Access Point ความเร็วสูง 300Mbps 2.4GHz กำลังส่ง 500mW
Ubiquiti UniFi Long Range Pack 3 ชุด
Ubiquiti UniFi AP Pro Dual Band 2.4GHz และ 5GHz ความเร็วสูงสุด 450Mbps กำลังส่งสูงสุด 1,000mW Port Gigabit
Ubiquiti UniFi AP-Outdoor Access Point ภายนอกอาคาร ความเร็วสูง 300Mbps 2.4GHz, 500mW เสา 6 dBi 2 ต้น



Download Software Ubiquiti Unifi Controller (Freeware) ที่ Link  (Version 3 ยังไม่ออกตัวเต็มมานะครับ รอนิดนึง (18/07/2013))


Version ล่าสุดจะเป็น 3.2.10

https://www.ubnt.com/download/

เข้าที่ Unifi --> Unifi-installerx.x.x.exe

และถ้าในกรณีใช้ Version 1/2 อยู่แล้ว ต้องการจะเปลี่ยนเป็น Version 3 ให้ทำตาม Link นี้ครับ http://wiki.ubnt.com/UniFi_FAQ#v2_-.3E_v3_migration






1. การ Config อุปกรณ์ Unifi ในครั้งแรก ข้อนี้สำคัญมาก!!

อุปกรณ์ Unifi จะต้องต่อเข้ากับ Router ก่อน และ Router นั้นๆต้องแจก IP Address ให้กับเครื่องลูกข่ายด้วย (DHCP Server) และ Computer ที่ลง Software Unifi Controller จะต้องต่อเข้า Router เช่นกัน ปิด Firewall, AntiVirus ให้เรียบร้อย

Router ที่เชื่อมต่อ กับ Unifi และ Computer ต้องแจก IP Address


ถ้าผ่านระบบ Authenticate (เช่น Software Hotspot Billing, Mikrotik) ให้ถอดระบบ Authenticate ไปก่อน ถ้าเป็น Mikrotik ให้ Disable Hotspot Server ไม่อย่างนั้นถ้าเกิดปัญหา จะค่อนข้างยุ่งยากในการตรวจสอบ

การตั้งค่า จะไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ Ubiquiti Unifi เข้ากับ Computer โดยตรงได้ โดยการต่อจะต่อตามรูปครับ และให้มีการเชื่อมต่อ Internet ได้ด้วยนะครับ เพื่อเวลาระบบทำการ Upgrade อุปกรณ์ จะได้ทำได้เลย (ถ้าขึ้น Status Need Upgrade แล้วไม่ได้ Upgrade จะไม่สามารถใช้งานได้)


2. เมื่อ Download แล้วก็ทำการติดตั้งโปรแกรมตามปกติ









ถ้าเครื่อง Computer ที่ใช้งาน ยังไม่เคยลง JAV Runtime โปรแกรมจะทำการติดตั้งให้ด้วย หรือถ้าต้องการติดตั้งเอง เข้า Web JAVA ได้โดยตรงครับ http://java.com/en/download/manual.jsp#win









เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยก็เปิดโปรแกรมได้เลย





3. เนื่องจากเป็น https จะมี security เตือน ให้ click [Continue this website]




4. ถ้า Setup โปรแกรมเป็นครั้งแรก ก็ตั้งตามรูปเลยครับ




ในตัวอย่างผมมีการเชื่อมต่อ Unifi ไว้ 1 ชุด




ตั้งชื่อสัญญาณ Wireless และ Security ในกรณีที่เปิดโปรแกรม Unifi Controller ไว้ตลอดเวลา ก็สามารถใช้ Function Guest Access ได้ครับ แต่ถ้า Config แล้วปิดเครื่อง ใน Guest Mode จะไม่สามารถใช้งานได้




กำหนด User/Password สำหรับการเข้า Config อุปกรณ์






Login เข้าหน้าจอ Config จาก User/Password ที่สร้างได้




5. ตัวอย่างจากรูปในข้อ 1 ผมต่อ Unifi ไว้ 2 ชุด โดยปกติโปรแกรม Unifi Controller จะทำการ Detect อุปกรณ์อัตโนมัติ ถ้าไม่ Detect ให้กดปุ่ม Reset ที่อุปกรณ์ Unifi ค้างไว้ 20 วินาที แล้วดึงปลั๊กออกแล้วเสียบใหม่ครับ

Click [Adopt] เพื่อทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์






เมื่อเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้ว ไฟที่ตัวอุปกรณ์จะเปลี่ยนสีจากสีส้มเป็นสีเขียว, น้ำเงิน, ฟ้า แล้วแต่รุ่นของอุปกรณ์ครับ ถ้ามี Status Need Upgrade และระบบเชื่อมต่อกับ Internet ไว้แล้วก็ Click [Upgrade] ได้เลย




ในกรณีที่เกิดปัญหา Adopt Fail ให้ลองกด Reset ที่อุปกรณ์ ประมาณ 20 วินาที แล้ว ดึงปลั๊กออกเสียบใหม่ครับ จากนั้นให้ทำการ Adopt อีกครั้ง


6. เปลี่ยนแผนที่ ถ้ายังไม่ต้องการเปลี่ยน ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปก่อนได้เลยครับ

Menu Map --> Click [Configure maps]




เลือก File แผนที่หรือจะใช้จาก Google Maps ก็ได้ครับ ในกรณีที่ติดตั้งนอกอาคาร





7. เมื่อแก้ไขแผนที่เรียบร้อยแล้ว ที่ Menu Map ด้านซ้ายจะมีรายการ Unifi ที่เชื่อมต่ออยู่ ให้ลากลงมาในแผนที่ได้เลยครับ




เมื่อ Click ที่ Icon Unifi จะมี Icon ย่อยออกมา Click ที่รูปเฟืองเพื่อ Config อุปกรณ์ Unifi ได้อีกครับ




กำหนดชื่อของอุปกรณ์ Unifi แต่ละตัวที่ Alias (ชื่ออุปกรณ์ ไม่ใช่ชื่อสัญญาณ Wireless นะครับ ในกรณีติดตั้งหลายๆตัวควรตั้งชื่อไว้ด้วยครับ)






กำหนด Channel และ กำลังส่งของอุปกรณ์




กำหนด IP Address ให้กับอุปกรณ์ หรือจะเป็นแบบ DHCP รับ IP จาก Router ก็ได้ครับ




8. ที่ Menu Settings ด้านล่าง

Site.



จะเป็นการกำหนดค่าหลักๆของโปรแกรม
Country: เลือกเป็น United Stated
Automatically upgrade firmware: Click Enable


Wireless Network.
เป็นการกำหนดเกี่ยวกับสัญญาณ Wireless





SSID: ชื่อสัญญาณ Wireless
Security: กำหนด Security ของสัญญาณ Wireless
Guest Policy: กำหนดให้สัญญาณ Wireless ที่ตั้งนี้อยู่ใน Mode Guest (ถ้าเลือก Guest ต้องเปิดโปรแกรมที่ติดตั้ง Unifi Controller ทิ้งไว้ตลอด ถ้าปิดเครื่อง Guest Mode จะไม่ทำงาน ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์ลูกข่ายไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณ Wireless นี้ได้)




อุปกรณ์ Unifi รองรับ Multiple-SSID สามารถสร้างชื่อสัญญาณ Wireless ได้ 4 ชื่อ สามารถทำ VLAN ร่วมกับอุปกรณ์ Switch ที่เป็น Manage ได้ หรือจะใช้กับอุปกรณ์ Mikrotik Router Board ก็ได้ครับ โดยหลักการคือแยกวง Network ออกจากกัน



Load Balancing: กำหนดจำนวนเครื่องลูกข่ายที่จะเชื่อมต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ Unifi ค้างเมื่อมีการเชื่อมต่อเยอะๆ
Lagacy Support: ให้อุปกรณ์ Unifi รองรับมาตรฐาน 802.3b (ไม่น่าจะมีใครใช้แล้วครับ เพราะถ้าเชื่อมต่อทุกคนจะช้ากันหมด)


Controller Setting



กำหนดการส่ง Email Alert (ยังไม่ได้ทดสอบนะครับ ลองดูรายละเอียดในหัวข้อ https://www.sysnetcenter.com/board/index.php/topic,1733.0/ ข้อที่ 2 ครับ)


Guest Control
การกำหนด Guest Mode ครับ






Authentication: กำหนดการเข้าใช้งาน Internet เช่น ระบบ Hotspot เมื่อเชื่อมต่อสัญญาณ Wireless แล้วต้องการใช้งาน Internet ต้องใส่รหัสผ่านก่อน และรหัสผ่านจะมีอายุการใช้งานตามที่กำหนด
Landing Page: กำหนด URL เมื่อ User ทำการ Login แล้ว
Access Control
Restricted Subnets: เป็น Block ไม่ให้ Users ที่เชื่อมต่อ Wireless ใน Guest Mode สามารถเข้าใช้งานในวง Network ที่กำหนดได้ (เข้า Internet ได้อย่างเดียว ไม่สามารถแชร์ไฟล์, เชื่อมต่อในวง Network ได้)
Allowed Subnets: กำหนดให้ใช้งานในวง Network ที่กำหนดได้


9. Menu Admin



เป็นการ Backup/Restore ค่า Config ต่างๆ ในกรณีเปลี่ยนเครื่องที่ลงโปรแกรม Unifi Controller ต้องทำการ Backup ค่า Config จากเครื่องเดิม แล้ว Restore ไปที่เครื่องใหม่ทุกครั้งครับ



ทดสอบ

ใช้ iPhone เชื่อมต่อสัญญาณ Wireless จะต้องใช้งานได้ปกติและมีรายการเชื่อมต่อที่ Menu Users ครับ




Software Unifi Controller สามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้งานของ User ได้




สามารถ Lock ให้เครื่องลูกข่ายเชื่อมต่ออุปกรณ์ Unifi ที่ต้องการได้




ลองใช้ Note II เชื่อมต่อ Wireless ครับ (ชื่อ Device แปลกๆ)




Statistic ของระบบ




ทีนี้ลองทดสอบสร้างระบบ Hotspot ด้วย Software Unifi Controller ซึ่งผมได้ทำคู่มือไว้ในหัวข้อ การ Config อุปกรณ์ UniFi AccessPoint เพื่อใช้งานใน Mode Hotspot Authenticate เรียบร้อยแล้วครับ

เชื่อมต่อผ่าน iPhone เมื่อเชื่อมต่อ Wireless จะมีหน้าจอให้ใส่ Password ครับ




ตอนตั้ง Landing Page ต้องใส่ http นำหน้าด้วย ลืมใส่ครับ  :P





เรียบร้อยครับ  ;D ;D ;D ;D






มีปัญหาจะถามครับ
คือผมซื้อ UBIQUITI (UniFi AP) "Solomon" มาใช้ที่ทำงาน
ต่อหลัง Fortigate 80C
ซึ่งเครื่อง PC ผมเองก็ต่ออยู่หลัง Fortigate 80C เช่นกัน
แต่ unifi controller เครื่องผมมันหา unifi ap ไม่เจอครับ
ลอง reset ที่ unifi ap ก็ยังไม่เจอ
ลองแบบต่อตรงหลัง Modem เลยก็ไม่เจอ

แต่ผมลองไปต่อที่หลัง Modem ที่บ้าน
แล้วใช้โน๊ตบุ๊คทำก็เจอ สามารถเสร็จค่าใช้งานได้หมด
พอจะทราบไหมครับว่าปัญหาเกิดจากอะไร
ต้องแก้ไขยังไงครับ