Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,595
กระทู้ทั้งหมด
10,026
หัวข้อทั้งหมด
4,711

  • การ Config NanoStation M5 เป็น Mode AP WDS และ Station WDS พร้อม ผลทดสอบ
    เริ่มโดย yod
    Read 118,828 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

 

 

การ Config NanoStation M5 เป็น Mode AP WDS และ Station WDS




สวัสดีครับ


หัวข้อนี้จะเป็นวิธีการ Config อุปกรณ์ Nano Station M5 เป็น Mode AP/WDS และ Station/WDS ครับ


อุปกรณ์ UBiQUiTi NanoStation M5 เป็นอุปกรณ์ Accesspoint แบบติดตั้งภายนอกอาคาร ใช้ย่านความถี่ 5GHz เพื่อเลี่ยงสัญญาณรบกวน เพราะย่าน 2.4GHz ใช้กันเยอะ และไม่ค่อยมี Channel ให้เลือกมากนัก ยิ่งถ้าใช้ในเมือง ด้วยกำลังส่งสูงถึง 500mW และถ้าใช้เป็นย่าน  2.4GHz รับรองได้ว่ากวาดคลื่นชาวบ้านเขาร่วงกระจาย เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้ในเมือง และ ต้องการความแรงของสัญญาณ ควรใช้ย่านความถี่ 5GHz เหมาะสุดครับ


จากตัวอย่างวิธีการ Config ในหัวข้อนี้ ผมจะ Setup อุปกรณ์ NanoStation M5 ตัวที่ 1 เป็น Main และ Set ให้เป็น Mode Access Point WDS + Bridge ซึ่งหมายความว่าตัวอุปกรณ์จะกระจายสัญญาณ Wireless ไม่แจก IP เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ตัวนี้ต้องเชื่อมต่อกับ Gateway ไว้ด้วยครับ


ส่วนอุปกรณ์ NanoStation M5 ตัวที่ 2 จะ Set เป็น Mode Station WDS + Bridge เมื่อ Set แบบนี้ อุปกรณ์ตัวนี้จะไม่กระจายสัญญาณ Wireless ต่อ โดยอุปกรณ์จะคุยกันกับตัวที่เราเลือกให้เกาะสัญญาณเท่านั้นครับ หรือถ้าต้องการให้อุปกรณ์ตัวนี้กระจายสัญญาณ Wireless ต่อ ก็เพียงแค่เปลี่ยน Mode เป็น Access Point WDS และนำค่า Mac Address จากตัวที่ 1 มาใส่ใน WDS Peer เท่านั้นเองครับ


ขั้นตอนการ Config ครับ


อุปกรณ์ UBiQUiTi NanoStation M5 - Main - Mode: Access Point WDS + Bridge

1. เชื่อมต่อสาย Lan ระหว่างอุปกรณ์ NanoStation M5 กับ Computer จากนั้น Fix IP ที่ Computer เป็น 192.168.1.99 Subnet Mask: 255.255.255.0

2. เปิด Internet Explorer พิมพ์ URL: 192.168.1.20 จะเข้าสู่หน้า Setup ของ NanoStation M5



3. ไปที่ Menu Network กำหนดค่าดังนี้

Network Mode: Bridge (แปลว่าสะพาน  ;D)
Bridge IP Address: Static (เลือก Fix IP ที่ตัวอุปกรณ์)
IP Address: 192.168.1.2 (อย่าให้ซ้ำกับตัวอื่นๆในวง Lan เรานะครับ)
Gateway IP: หมายเลข Gateway 192.168.1.1
Primary DNS IP: 192.168.1.1



ในกรณีถ้าเลือก Bridge IP Address เป็น DHCP และเกิด DHCP Server เราร่วงขึ้นมา จะไม่ได้ IP กันซะ เข้าไปหน้า Setup ไม่ได้แน่นอน มีทางแก้ครับ ให้ใส่หมายเลข IP ที่ช่อง DHCP Fallback IP ถ้าไม่ได้รับ IP จาก DHCP Server ตัวอุปกรณ์นี้ก็จะเปลี่ยนมาเป็น IP นี้เองอัตโนมัติครับ

จากนั้น Click [Change] และ [Apply]

4. เข้าที่ Menu Wireless เลือก

Wireless Mode: Access Point WDS
WDS Peers: ใส่ค่า MAC Address ของ WLAN อุปกรณ์ NanoStation M5  ตัวที่ 2
Channel Width: 40 MHz (Default)




เรื่องความปลอดภัยของสัญญาณไม่ให้ชาวบ้านมาแอบเอาไปใช้ เนื่องจาก Mode WDS นี้จะ Support การ Encrypt แบบ WEP เท่านั้น แต่ Firmware AirOS ใน Version นี้ไม่มีมาให้ ต้องใช้วิธีการ คือ ลงไปที่หัวข้อ Wireless Security แล้ว Click เครื่องหมายถูกที่ MAC ACL Enable เลือก Policy เป็น Allow (หมายถึงยอมให้ MAC Address ที่เราใส่ สามารถ Connect สัญญาณ Wireless ได้เท่านั้นครับ) ปกติจะได้แค่ 4 แต่ผมได้ทำวิธี Add ไว้ได้ถึง 16 ไว้ใน Webborad แล้วครับ และเราก็สามารถซ่อนสัญญาณ Wireless ไว้ได้ครับ

ขั้นตอนการเพิ่ม MAC Access Control List ในอุปกรณ์ UBiQUiTi ให้มากกว่า 4 ตัว




จากนั้น Click [Change] และ [Apply]


อุปกรณ์ UBiQUiTi NanoStation M5 - Site - Mode: Station WDS + Bridge

1. เชื่อมต่อสาย Lan ระหว่างอุปกรณ์ NanoStation M5 ตัวที่ 2

2. เปิด Internet Explorer พิมพ์ URL: 192.168.1.20 จะเข้าสู่หน้า Setup ของ NanoStation M5



3. ไปที่ Menu Network กำหนดค่าดังนี้

Network Mode: Bridge
Bridge IP Address: Static
IP Address: 192.168.1.3 (อย่าให้ซ้ำกับตัวอื่นๆในวง Lan เรานะครับ)
Gateway IP: หมายเลข Gateway 192.168.1.1
Primary DNS IP: 192.168.1.1



4. เข้าที่ Menu Wireless เลือกตามนี้

Wireless Mode: Station WDS
ESSID: ให้ Click [Select] เพื่อเลือกสัญญาณ จากตัวอย่างผมตั้งชื่อสัญญาณในตัว Main ไว้คือ sysnetcenter



Lock AP MAC: ในกรณีที่มีอุปกรณ์ที่ปล่อยชื่อสัญญาณ Wireless ซ้ำๆกันหลายๆตัว เราอาจต้องการที่จะเลือกเกาะตัวแรงที่สุด ก็เอาค่า MAC Address ของตัวที่แรงสุดมาใส่ในช่องนี้ครับ
Channel Width: Auto 20/40 MHz (Default)

จากนั้น Click [Change] และ [Apply]




ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ไฟแดงที่ตัวอุปกรณ์จะติดขึ้นมาครับ ลองทดสอบด้วยการ Ping ดู ถ้าได้ก็ถือว่าเรียบร้อย



ทีนี้จะเป็นการ Test ความเร็วจากการที่ Config ไปครับ ผมได้ใช้โปรแกรม JPerf ตามที่ UBiQUiTi แนะนำมา เอาไว้ทดสอบอุปกรณ์รุ่นแรงๆพวกนี้โดยเฉพาะ โปรแกรมนี้ Developer เขาเขียนด้วย Java เพราะฉะนั้นถ้าจะ run โปรแกรม ให้ลง Java Run Time ก่อนนะครับ


ผมได้ลงโปรแกรมไว้ 2 ที่ คือเครื่อง Server กะ Client กำหนด Connection ไว้ 10 ให้ส่งข้อมูลพร้อมๆกันทีละ 10 ใช้หน่วยเป็น MBits


ฝั่ง Server


ฝั่ง Client



จากผลการ Test ได้ Speed ถึง 79.2 MBits/Sec เลยครับ ใช้กะพวกกล้อง IP Camera ได้หลายตัวเลยทีเดียว หรือจะใช้กับพวก Multimedia Streaming หรือจะใช้กับ Application ระหว่างสาขาที่ต้องการ Update Database กันปริมาณมหาศาลเช่นพวก Run Batch House Keeping ในช่วงค่ำๆ ก็จะได้ประสิทธิภาพที่สูงมากครับ

หรือจะใช้กับระบบ VOIP ยิงสัญญาณคุยกันระยะไกลก็ได้ครับ โดยเราไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์เลย
การ Config อุปกรณ์ Linksys PAP2T เพื่อ โทรศัพท์ ผ่าน IP ระหว่างสาขา ระยะไกล


เนื่องจากผมยังไม่ได้ลองปรับแต่งค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Speed ส่วนใหญ่ก็เป็นค่า Default ทั้งหมด แต่ผมลองอ่านจาก Webboard UBiQUiTi เห็นว่าสามารถปรับแต่งให้เร็วกว่านี้ได้อีกครับ  ;)





เรียบร้อยครับ

ลูกค้าท่านใดที่ต้องการให้เรา Setup ให้เลย เพื่อพร้อมใช้งาน ก็เพียงแจ้งมาทาง mail หรือโทรศัพท์มาได้เลยครับ  ;D

nanastaion m5 ตัวส่งสัญญาณ(firemware xm.v5.5) ไม่มีโหมด ap WDS ต่อสัญญาณ ต้องใช้โหมด ap repeater สัญญาณถึงจะขึ้น  ต่อโหมด ap สัญญาณไม่ขึ้นเลย ทำไงให้มีโหมด ap wds  

yod


มีครับ เลือกเป็น access point แล้ว click เครื่องหมายที่ wds