Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,595
กระทู้ทั้งหมด
10,026
หัวข้อทั้งหมด
4,711

  • การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi และ Software Unifi Controller
    เริ่มโดย yod
    Read 108,795 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

 

 

การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi และ Software Unifi Controller




Update: การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi และ Software Unifi Controller V.3



สวัสดีครับ หลังจากที่ลูกค้าที่สนใจ Ubiquiti Unifi ตอนนี้ทาง Ubiquiti ได้ออก Software Unifi Controller สำหรับ Version ที่ทำงานบน Linux Distribution debian 5 ถึง debian 6 และ ubuntu 9.04 ถึง ubuntu 11.04 ได้แล้วนะครับ

การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi Controller บน Linux Ubuntu 9.10

ในบทความนี้จะเป็นการติดตั้งบน Windows 7 และ Unifi Controller เป็น Version 1.2.3 ครับ ส่วนบทความ Review สินค้าจะอยู่ในหัวข้อ Review อุปกรณ์ Ubiquiti UniFi Access Point แบบใช้ Software Controller


1. Download โปรแกรม Unifi Controller Version ล่าสุดก่อนนะครับ

2. หลังจาก Download เรียบร้อยแล้วก็ทำการติดตั้ง




Install ตามปกติครับ






ในกรณีที่เครื่องไม่มี JAVA Runtime โปรแกรมมันก็จะติดตั้งให้ด้วยครับ








ติดตั้งเรียบร้อย สั่ง Start ไปเลยครับ




2.1. โปรแกรม Unifi Controller จะ Run คล้ายๆ Service บน Windows นะครับ ให้ Click [Launch a Browser to Manage Wireless Network]




2.2. เนื่องจาก Web config มี SSL ให้ Click [Continue to this website] ด้วยครับ




2.3. กำหนดค่า Initial ให้กับ Ubifi Controller

เลือก Language และ Country แล้ว Click [Next]




2.4. เลือก Device ที่ต้องการ Config
ตอนนี้ยังไม่มีครับ  :P เพราะหลังจากที่ผมทำ Review หัวข้อที่แล้ว ลืม Reset ที่อุปกรณ์ Unifi ครับ ให้ Click [Next] ไปก่อน ถ้ามี Device ขึ้นมาก็ Click เลือก ได้เลยนะครับ




2.5. กำหนดชื่อสัญญาณ Wireless (SSID) ในตัวอย่างผมกำหนดให้มี Guest Access ด้วย ไว้สำหรับให้บุคคลภายนอกที่เข้ามาและต้องการใช้ Internet แต่ไม่ให้เชื่อมต่อเข้าในระบบ Network ภายในของเราได้ แล้ว Click [Next]




2.6. กำหนด User/Password เพื่อเข้า Config ใน Software Unifi Controller แล้ว Click [Next]




2.7. เรียบร้อยครับสำหรับการ Config ค่าเบื้องต้น




3. หลังจาก Config ขั้นต้นเรียบร้อยแล้ว จะเข้ามาที่หน้า Login ครับ ให้ใส่ตามที่ตั้งเอาไว้




4. จะเข้าที่หน้า Main ของ Software Unifi Controller




ถ้ามีแผนผังของสถานที่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ก็ทำการ Add แผนที่เพิ่มได้เลยครับ ด้วยการ Click [Configure maps]






5. จากตัวอย่างจะเป็นผังชั้น G ของห้างเซียร์ รังสิตครับ ผมกำหนดความกว้างของอาคารไว้ประมาณ 50 เมตร ด้วยการลาก mouse จากด้านซ้ายไปด้านขวา แล้วกำหนด Distance เป็น 50 เมตร






6. เนื่องจากตัว Unifi AP ผมได้ Config ไว้ตอนทำ Review เลยต้องทำกร Reset อุปกรณ์ใหม่ครับ ด้วยการจิ้มที่ปุ่ม Reset ด้านท้ายอุปกรณ์ (ข้างๆ Port RJ-45) ประมาณ 15 วินาที หรือรอจนไฟสถานะที่อุปกรณ์จะดับ (ต่อไฟเลี้ยงให้อุปกรณ์ Unifi ไว้ด้วยนะครับ)

Software Unifi Controller ทำการเชื่อมต่อกับ Access Point เรียบร้อย ซึ่งจะอยู่ในรายการ Connected




7. ทีนี้ Click ที่ Unplace APs จะมีรายการ Access Point ขึ้นมา ให้ Click แล้วลากไปวางตามจุดที่ต้องการครับ






ถ้าดูในรายการ Access Point จะมีชื่อของ Access Point ขึ้นมา




8. Click ที่ Menu Settings --> Wireless Networks




ให้ทำการ Click Edit รายชื่อ Wireless ที่สร้างไว้




รายละเอียดหลักๆก็จะมี
SSID: ชื่อสัญญาณ Wireless
Security: การเข้ารหัสของสัญญาณ Wireless ควรเลือกเป็น WPA-Personal
Security Key: กำหนด Key ของรหัส
Guest Policy: กำหนดข้อบังคับสำหรับผู้ใช้งานชั่วคราว




9. ทีนี้ก็จัดการ Wireless สำหรับผู้ใช้งานชั่วคราว Guest Mode

ในกรณีที่ต้องการทำอุปกรณ์ Unifi ให้กระจายสัญญาณ Wireless อย่างเดียว ไม่ได้มีการควบคุมผ่านผ่าน Software Controller ให้ข้ามขั้นตอนนี้ได้เลยครับ เพราะการใช้งาน Guest Mode ต้องมีการเปิดเครื่อง Computer ที่ติดตั้ง Software Unifi Controller ไว้ตลอดเวลา ในกรณีใช้งานร่วมกับ Mikrotik หรือ โปรแกรม Hotspot จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้งานในส่วน Guest Mode นี้ครับ

รายละเอียดหลักๆก็จะมี
SSID: ชื่อสัญญาณ Wireless
Security: การเข้ารหัสของสัญญาณ Wireless เลือกเป็น Open
Guest Policy: Apply guest policies (Captive portal, guest authentication) กำหนดข้อบังคับสำหรับผู้ใช้งานชั่วคราว สำหรับ Captive portal เดี๋ยวจะลองกับ Mikrotik ครับ
สามารถทำ VLAN ได้ด้วยนะครับ ตั้งแต่ 2-4095




จากนั้นก็ Click [Apply]


จัดการเรื่อง Guest Control




Guest Portal: เลือก Enable Guest Portal
Authentications:
No authentication: เลือกอันนี้ได้เลยครับ ไม่ต้องมีการ Authen อะไร
Simple Password: เอาไว้สร้างรหัสง่ายๆ ประมาณว่าถ้าจะเล่นต้องติดต่อที่ Counter ประชาสัมพันธ์ก่อน
External Portal Server: ไม่แน่ใจว่าเอาไว้ต่อกับพวก RADIUS Server หรือเปล่านะครับ

Landing Page:
Redirect to the original URL: มาจาก web ไหนก็เข้า Web นั้นเลย
Promotional URL: จะ Redirect ไปที่ Webpage นี้ก่อน


จากนั้นก็ Click [Apply]




ทดสอบ
ลองทดสอบ Connect สัญญาณ Wireless ชื่อ sysnet-free-wifi จากนั้นก็ Ping เข้าไปที่ตัว Router จะต้อง Ping ไม่ได้ครับ เพราะโดน Block ไว้จาก Restricted Subnets



จากนั้นก็ลองเข้า Website จะต้องมี Term of Use ขึ้นมาครับ และก็จะ Redirect ไปยัง website ที่เราตั้งเอาไว้








ทีนี้ลองทดสอบ Connect Wireless ด้วย iPhone สามารถเข้าตรวจสอบได้ที่ Menu Guest ได้เลย สามารถ Block ไม่ให้เชื่อมต่อได้ด้วยครับ ในกรณีใช้ Traffic เยอะเกินกว่าเหตุ




ผมลองเชื่อมต่อผ่านสัญญาณ Wireless ที่ชื่อ sysnet-wifi โดยเป็นการเชื่อมเข้ากับเครือข่ายภายในครับ




จะต้อง Ping เจอ Router หรืออุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆในวง Network ของเรา




ตรวจสอบการใช้งาน การ Download/Upload สำหรับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อเข้ามา




ในกรณีที่ Block เครื่องลูกข่ายเอาไว้ สามารถ UnBlock ได้ที่ Menu Blocked Devices ครับ




ดู Statistice การเชื่อมต่อของ Access Point




ในกรณีที่เครื่อง Computer ที่ติดตั้งโปรแกรม Unifi Controller ดับหรือปิด Service ไป ก็จะมี Error Message แจ้งขึ้นมาครับ







เรียบร้อยครับ สำหรับการใช้งานโปรแกรม Unifi Controller ขั้นต้น ในอนาคต ทางทีม Engineer ของ Ubiquiti จะมีลูกเล่นใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาสำหรับเจ้าตัว Unifi เช่นการเชื่อมต่อกับ Radius Server ในกรณีที่เราต้องการทำระบบ Authenticate หรืออื่นๆ ให้ตรวจสอบ Unifi Controller Version ล่าสุดได้จาก Link ด้านบนได้เลยนะครับ

Oad
สอบถามหน่อยครับว่า พอ Config เสร็จแล้วยังต้องเปิดคอมพิวเตอร์ไว้ตลอดเลยใช่ไหมครับปิด ไม่ได้
ถ้าปิดแล้ว เครื่องโน็ตบุค อื่น ๆก็จะไม่สามารถเชื่อต่อได้เลยเหรอครับ


yod


เสริมครับ

ถ้าปิดเครื่อง จะใช้งานได้แค่ Mode Access Point ปล่อย Wireless อย่างเดียวเลยครับ  ;D

สอบถามครับ ถ้าผมมีสอง vlan
vlan 1 เป็น vlan  สำหรับเครือข่ายภายใน
vlan 2 เป็น vlan  สำหรับ ให้บริการ internet

ผมสามารถปล่อย ssid ออกจากตัว ap ได้ไหม แล้ว การต่อสายหรือการ tagging vlan ผมจะต้องทำยังไงครับ

ขอคำแนะนำครับผม พอดีว่าผมลืม ยูเชอร์เนม กับพาสเวิร์ด ล๊อคอิน โปรแกรมคอนโทรล ลบออกจากเครื่องแล้วลงใหม่ ก็เจอแบบเดิม มีวิธีไหนที่จะอินสตอลโปรแกรมใหม่แล้วเช็ตค่าใหม่ได้บ้างครับ