Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,595
กระทู้ทั้งหมด
10,026
หัวข้อทั้งหมด
4,711

  • การ Config Ubiquiti Unifi Controller Version 5
    เริ่มโดย yod
    Read 35,225 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

 

 

คู่มือการ Config Ubiquiti Unifi Controller Version 5


หัวข้อนี้จะเป็น คู่มือการ Config อุปกรณ์ Unfi Cloud Key (UC-CK) ร่วมกับ Ubiquiti Unifi AP-AC ครับ

ทางร้านทำคู่มือมาตั้งแต่ Version 1 ตอนนี้ Version 5 แล้วครับ  ;) ;) ในคู่มือที่ทำนี้จะเป็น Unifi Version 5.7.23 ซึ่งเป็น Version ล่าสุด (27/04/2018)


เริ่มต้น จ่ายไฟให้กับ Unifi Cloud Key (UC-CK) อุปกรณ์จะรองรับไฟได้ 2 แบบ คือ ผ่าน POE มาตรฐาน 802.3af/at หรือ USB Charger 5VDC 2A ครับ และต่อสาย Lan จาก Cloud Key เข้า Router ในระบบ Network ของเรา

ถ้า Router ที่ใช้เปิด DHCP Server ไว้ หมายเลข IP Address ที่ Unifi Cloud Key จะได้รับแจกจาก Router แต่ถ้าไม่เปิด DHCP Server ที่ Router ค่า Default ของ Unifi Cloud Key จะเป็น 192.168.1.30


การ Config อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi แนะนำให้ต่อเข้ากับ Router และเปิด DHCP Server ไว้ครับ รวมถึงให้ออก Internet ได้ด้วย เพราะจะง่ายเวลา Config และการ Upgrade Firmware


ทีนี้จะรู้ได้ยังไงว่า Unifi Cloud Key ได้ IP อะไรจาก Router?

A. ดูที่ DHCP Lease ที่ Router ว่าแจก IP อะไรให้ไป (Router แต่ละรยี่ห้อ Menu ไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า DHCP Lease)
B. ใช้ Browser Chrome แล้วลง APP ที่ชื่อว่า UBNT Discovery (ในตัวอย่างหัวข้อนี้ จะใช้วิธีนี้ครับ)


1. ติดตั้ง App UBNT Discovery  บน Google Chrome

แล้ว Run --> Click Unifi Family --> Find Cloud Key จะมีรายการอุปกรณ์ขึ้นมา ให้ Double Click ได้เลย






2. จะขึ้นมา 2 Menu หลัก

Unifi Controller อันนี้จะเป็นเหมือน Software Unifi Controller ที่ติดตั้งบน PC ไว้ Manage อุปกรณ์ Ubiquiti Unifi ครับ
Unifi Cloud Key เป็นเหมือน Firmware ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์ Unifi CLoud Key ครับ




3. ให้เลือก Menu Unifi Cloud Key ก่อน เพื่อจัดการ IP Address และ Update Firmware เป็นตัวล่าสุด

User = ubnt และ Password = ubnt จะมีหน้าจอให้เปลี่ยน Passsword นิดนึง




Menu Configuration

เปลี่ยน Device Name/ Time Zone

ตรง Network Setings แนะนำให้เปลี่ยนเป็น Static ครับ ทำการ Fix IP ให้เรียบร้อย




Menu Maintenance

ทำการ Update Firmware ให้เรียบร้อยครับ ในขั้นตอนนี้ต้องต่อ Internet เพราะเป็นการ Online Update




4. ทีนี้เลือก Menu Unifi Controller จะเข้าหน้าจอ Wizard

เลือก Country และ Time Zone (เลือกเป็น Thailand ไว้ครับ จะมีผลกับ Frequency ย่าน 5GHz)




ถ้ามีอุปกรณ์ Unifi AP/ Unifi Switch อยู่ในระบบ จะมีรายการขึ้นมา ให้ Next ไปก่อน




Configure Wifi ไว้ Set ทีหลังครับ กด SKIP ไปก่อน




Controller Access ให้สร้าง User/Password สำหรับ Admin โดย Password ต้องตั้งให้ยากๆ มีตัวอักษรและตัวเลขรวมอยู่ด้วย ไม่งั้นปุ่ม Next ไม่ขึ้นให้กด




Enable Cloud Access จะได้ Manage Unifi ผ่าน Cloud ได้ครับ




ถ้ายังไม่มี Account สมัครให้เรียบร้อย




5. เมื่อจัดการ Wizard และ สมัคร Ubiquiti Account เรียบร้อยแล้ว ทำการ Login เข้า Unifi Controller ได้เลย

หน้าจอหลัก ให้ Click ที่ปุ่ม Config (รูปเฟือง)




6. Menu Site Configuration

Site Name: ตั้งชื่อ Site
Country: Thailand
Timezone: +7 Bangkok
Automatic Upgrades: เลือกไว้ก็ดีครับ เผื่อมี Bug
LED: ถ้าติดตั้งในห้องนอนก็ปิดซะ แสงมันจ้าเอาเรื่องเหมือนกัน




7. Menu Wireless

ใน Menu นี้จะเป็นการจัดการชื่อสัญญาณ Wireless (SSID) โดยจะสามารถจัดเป็นกลุ่มได้ครับ

WLAN Group (มุมขวาบน) จะมี Group ชื่อ Default อยู่แล้วครับ
Click [ + Create New Wireless Network]




Name/SSID: ชื่อสัญญาณ Wireless
Security: Open จะเป็นการปล่อยสัญญาณ Wireless โดยที่ไม่มีรหัส ถ้าต้องการมีรหัสให้เลือก WPA Personal
Guest Policy: จะเป็นการกำหนด Guest Mode ใน Mode นี้จะสามารถทำระบบ Authenticate ได้ครับ
Fast Roaming: เป็นการทำ Roaming เวลา Device เช่นพวกมือถือเกาะสัญญาณ AP ตัวแรก และผู้ใช้งานเดินไปเรื่อยๆ เมื่อเจอ AP ตัวที่ 2 ก็จะเกาะเองอัตโนมัติครับ




8. Guest Control จะเป็นระบบการทำ Guest Mode ครับ เช่นพวกระบบ Hotspot Authenticate โดยจะมีหน้า Web Login เพื่อเข้าใช้งาน Internet หรือ การ Login ผ่าน Facebook ในส่วนนี้ค่อนข้างเยอะ ขอทำแยกเป็นอีกหัวข้อนึงนะครับ

ทางร้านเคยทำคู่มือไว้ครับ แต่เป็น Unifi Software Version 2 ตั้งแต่ปึ 2011 การ Config อุปกรณ์ UniFi AccessPoint เพื่อใช้งานใน Mode Hotspot Authenticate



เยอะจริง  :o




Access Control เป็นการ Block ไม่ให้พวก Guest เข้ามาในวง Network หลักเราได้ครับ คือ เล่นเน็ตได้อย่างเดียว




9. User Groups เป็นการกำหนด Bandwidth ให้แต่ละ Group ที่เราตั้งไว้

ความเร็วที่กำหนด จะเป็นต่อ User ครับ ไม่ใช่ความเร็วรวมทั้งกลุ่ม




เมื่อสร้าง Group แล้ว ให้ไปกำหนดที่ Menu Wireless Networks --> Advances Options อีกครั้งนะครับ




10. Controller กำหนด Mail Server ไว้ส่งพวก Event ต่างๆเข้า Mail ครับ แนะนำใช้ของ GMail ครับ




เลือก Event ที่ต้องการจาก Menu Notifications




11. Cloud Access ใช้สำหรับ Remote เข้า Controller ผ่าน Cloud ครับ




Click แล้วจะขึ้นหน้าจอตามนี้ครับ มีกี่ Site ก็จัดการได้หมด




12. Maintenance สำหรับ Backup ค่า Config

ค่า Config ในอุปกรณ์ Unifi จะถูกผูกไว้กับ Controller ที่ Config ค่าเอาไว้่นะครับ ถ้าเปลี่ยนเครื่อง Cloud Key หรือ เปลี่ยนเครื่องที่ลง Unifi Software แล้วเราไม่ได้ Backup ค่า Config ไว้ เพื่อไป Restore ที่เครื่องใหม่ อุปกรณ์ Unifi จะขึ้น Status Managed By Other หมายถึงถูกจัดการโดยเครื่องอื่น ถ้าต้องการจะจัดการ Unifi ตัวนั้น ต้อง Reset ใหม่ครับ

Update Firmware ที่ Menu นี้ได้เช่นกันครับ




ทีนี้จะเป็นการ Config อุปกรณ์ Unifi Access Point ครับ


13. Click Menu Device จะมีรายการ Access point ที่ต่ออยู่ในระบบ Network

ให้ทำการ Click Adopt และ Upgrade




ถ้า Click Locate ไฟ Status ที่อุปกรณ์ Unifi จะกระพริบ จะได้รู้ว่าเป็นตัวไหน  ;D




14. Click Menu Map ใน Menu นี้จะเป็นแผนที่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ครับ ถ้ามีแผนผังสามารถ Add เข้าได้เลยครับ

ด้านซ้ายจะเป็นรายการอุปกรณ์ ให้คลิ๊กเมาส์ค้างไว้แล้วลากมาใน Map ได้เลย




Click รูปเฟือง ที่อุปกรณ์ จะมี Menu Property ที่ด้านขวา จะเป็นส่วนการ Config และ Status ต่างๆของอุปกรณ์ Unifi ครับ




15. Click Config

General
Alias: ชื่ออุปกรณ์ ตั้งให้สื่อนิดนึครับ จะได้รู้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งตรงตำแหน่งไหน




Radios
Channel Width: ถ้าย่าน 2.4GHz ให้เลือกเป็น 20 ส่วน 5GHz เลือกเป็น 80 แต่ถ้าเป็น Zone ที่มี Access Point เยอะๆมีสัญญาณรบกวนกันเอง ให้เลือกเป็น 40 ครับ แต่ความเร็วก็จะลดลงไป

Channel และ Transmit Power เลือกเป็น Auto ไปเลย เดี๋ยวต่อ Cloud Key มันจัดหาค่าที่ดีที่สุดให้เองครับ




WLANS

เป็นการกำหนดชื่อสัญญาณ Wireless โดยจะอ้างกับข้อ 7 แต่สามารถ Overides หรือ เปลี่ยนชื่อสัญญาณ Wireless เฉพาะ Access Point ตัวนั้นๆได้ครับ




Networks

แนะนำให้กำหนดเป็น Static ไว้ และเป็นค่า IP  ที่อยู่นอก Range ที่กำหนดไว้ใน DHCP Server ที่ Router ด้วยครับ




WIRELESS UPLINKS

จะเป็นการทำ Wireless Uplink คล้ายๆ WDS ครับ รวมถึงการทำ MESH Network




การทำ Mesh Network ทางร้านทำคู่มือไว้ในหัวข้อนี้ครับ การ Config Mesh Network บนอุปกรณ์ Ubiquiti Unifi AC Mesh


MANAGE DEVICE

จะเป็นการ Copy Configuration, Upgrade อุปกรณ์แบบ Manual รวมถึง Forget Device

การทำ Forget This Device จะเป็นการ Reset อุปกรณ์ Unifi ด้วยนะครับ




เมื่อ Config เรียบร้อย ให้ลองทดสอบเชื่อมต่อสัญญาณ Wireless และทำการ Speed Test ให้เรียบร้อยครับ




;D ;D ;D