Welcome to Sysnet Board คู่มือ การใช้งานอุปกรณ์ Network. Please log in or sign up.
สมาชิกทั้งหมด
17,603
กระทู้ทั้งหมด
10,034
หัวข้อทั้งหมด
4,714

  • คู่มือการ config TP-Link OC200 ทำ Multi-SSID VLAN
    เริ่มโดย yod
    Read 12,251 times
0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้
yod

 

 

คู่มือการ config TP-Link OC200 ทำ Multi-SSID VLAN ร่วมกับ Switch T1600G-28TS






ขออธิบายตามภาพเลยครับ

ตัว Peplink Balance One Core ทำ VLAN 100 มี Subnet เป็น 192.168.100.0/24 และ VLAN 200 มี 192.168.200.0/24 ส่วน VLAN 1 หรือ Default VLAN มี IP 192.168.10.1

TP-Link T1600G-28TS L2 Managed Switch
Port 1: เชื่อมต่อกับ Peplink Balance One Core
Port 2: เชื่อมต่อกับ TP-Link OC200 Wireless
Port 3,4: VLAN 100
Port 5,6: VLAN 200
Port 23,24: เชื่อมต่อกับ Access Point TP-Link EAP225


เวลาเราติดตั้งระบบ Network ที่มี VLAN เข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องเขียนในกระดาษครับ หรือเขียนเป็น Diagram ไว้ ไม่งั้นละงง Port อันไหน Taged อันไหน Untaged


ส่วน Taged Port ,UnTaged Port, PVID ผมขอสรุปง่ายๆครับ

Untaged: ถ้า Port ไหนต่อเข้ากับ PC หรืออุปกรณ์อะไรก็ตามที่เครื่องมันไม่สามารถอ่าน Data ที่มี VLAN ID ประกอบมาด้วยได้ เราต้อง Set Port นั้นเป็น Untaged เพราะถ้าข้อมูลทีออกมามี VLAN ID มา PC มันจะอ่าน Data ไม่รู้เรื่อง ตัว Switch เลยต้องเอาหมายเลข VLAN ID ออกจาก Data ก่อนส่งไปหา PC

Taged: ถ้า Port ไหนที่ต่อออกมา และเราต้องการให้มี VLAN ID มากับ data ด้วย เราต้อง Set Port นี้ให้เป็น Taged  เพื่อไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่สามารถรับข้อมูลที่มี VLAN ได้ เช่นพวก Switch Managed , Access Point ที่รองรับ Multi-SSID VLAN Mapping

Trunk: Data ที่ส่งออกมาจาก Port นั้นๆ มีหลายๆ Taged VLAN ออกมา เราจะเรียก Port นี้ว่า Trunk เช่น Port 23 เรา Set เป็น Trunk จะมี VLAN 100, 200 ออกมากับ Data ที่ออกมาจาก Port นี้ด้วย

PVID (Port VLAN ID): จะอ้างอิงกับหมายเลข VLAN เพื่อให้รู้ว่าข้อมูลที่เข้ามาจาก Port นั้น เป็นข้อมูลที่ต้องมีหมายเลข VLAN อะไร เช่น Port 3,4 เรา Untaged VLAN 100 เพื่อต่อเข้ากับ PC เมื่อ PC ส่งขุ้อมูลมาที่ Port ของ Switch ภายใน Switch จะมีการแปะหมายเลข VLAN ก็คือ PVID นี้ด้วย เพื่อจะได้ส่งข้อมูลไปยัง Port อื่นๆที่เป็น VLAN ID เดียวกันได้


[TP-Link OC200]

ทางร้านได้ทำ Review อุปกรณ์ไว้แล้วในหัวข้อนี้ครับ Review TP-Link OC200 Cloud Controller

Default IP ของ OC200 จะเป็น DHCP Client นะครับ ถ้าไม่ได้ต่อกับ DHCP Server จะเป็นหมายเลข 192.168.0.253 เบื้องต้นให้ Fix IP ที่ PC เป็น 192.168.0.200 และต่อ PC เข้ากับ OC200 โดยตรงก่อน

เมื่อ Login เข้า OC200 จะผ่านหน้า Wizard ก็ Next ไปเรื่อยๆนะครับ จะเข้าหน้า Dasfboard




จากนั้นเข้าไปแก้ไข IP Address ของอุปกรณ์

Menu Controller Settings --> General Settings




เชื่อมต่อสาย Lan จากอุปกรณ์ต่างๆเข้าที่ Switch TP-Link T1600 ตามรูปตัวอย่างครับ

OC200 --> Port 2
PC --> Port 7
Peplink Balance One --> Port 1
Access Point EAP245 --> Port 24


Upgrade Firmware อุปกรณ์กันก่อน

พวกอุปกรณ์ Network ขอแนะนำเลยครับ เมื่อใช้งานครั้งแรกให้หาทาง Upgrade เป็น Firmware Version ล่าสุดให้ได้ก่อน พวก Feature ใหม่ๆไม่ค่อยได้ใช้หรอกครับ สำคัญตรงส่วน Security จะได้ไม่มีคนมา hack ระบบกันง่ายๆ

Menu Controller Settings --> Maintenance




เมื่อ Up Firmware เสร็จ อุปกรณ์จะทำการ Reboot

กำหนดชื่อสัญญาณ Wireless (SSID)

Menu Basic Wireless Settings --> Click [Add]




สร้าง SSID ทั้ง Staff-Wifi




Band จะเป็นย่านความถี่ที่ปล่อยออกมา ให้ Click เลือกทั้ง 2.4GHz และ 5GHz

Enable Wireless VLAN, Wireless VLAN ID = 100




สร้าง SSID Guest Wifi กำหนด Wireless VLAN ID เป็น 200




Enable Fast Roaming

Menu Wireless Settings --> Advanced Wireless Setting




Enable Band Steering กรณีที่ Device รับสัญญาณ 5GHz ได้ดีกว่า ตัว AP จะให้ Device ไปเกาะสัญญาณ 5GHz เพราะได้ Bandwidth ที่เร็วกว่า




OC200 รองรับการทำ MAC Filter กับ Schedule ปิด/เปิด สัญญาณ Wireless






ถ้ามีการตั้ง Schedule ให้ Update Time ให้กับ OC200 ด้วยครับ

Menu Controller Settings --> General Settings




Register TP-Link Cloud Access เพื่อที่จะ Remote จากภายนอกเข้ามา Monitor ระบบได้




กำหนด Mail Alert ใช้ Account ของ gmail ได้เลยครับ




กำหนดความปลอดภัย Google Mail ให้ยอมรับ App ที่มีความปลอดภัยน้อย เพื่อให้ OC200 สามารถใช้ SMTP Server ของ gmail ได้ เข้า url https://myaccount.google.com




เชื่อมต่อ Access Point เข้าระบบเครือข่าย ตัวอย่างจะเป็น TP-Link EAP245 ครับ OC200 จะทำการ Scan ว่ามี AP ตัวไหนที่อยู่ในระบบบ้าง (เฉพาะ TP-Link รุ่นที่รองรับครับ https://www.sysnetcenter.com/188-tp-link-business-wi-fi)

Click [Adopt]




ถ้า Adopt สำเร็จจะขึ้น Status Connected




ชื่ออุปกรณ์ AP จะเป็นหมายเลข MAC Address ให้เปลี่ยนเป็นชื่อที่สื่อถึงอุปกรณ์ครับ เช่นอุปกรณ์อะไร ติดตั้งตรงตำแหน่งไหน




เสร็จขั้นตอนนี้ Wireless ยังเชื่อมต่อไม่ได้นะครับ ต้อง Set ที่ Switch กันก่อน  :D


[TP-Link T1600-28TS]


Default IP ของ Switch TP-Link จะเป็น 192.168.0.1 เพราะฉะนั้นต้อง Fix IP mเครื่อง PC เป็น 192.168.0.2 แล้ว Login เข้าหน้า Config ของ Switch

Menu L3 Features --> Interface --> Edit แก้ไขหมายเลข IP ของ Switch ให้อยู่ในวง Network mใช้งาน




เลือกเป็น Static และกำหนดหมายเลข IP




หลังจากเปลี่ยน IP และ Click [Apply] หมายเลข IP ของ Switch จะเปลี่ยน ให้แก้ไข IP ของ PC เพื่อเชื่อมต่อวง Network ได้ ทำการ Login เข้า Switch ใหม่อีกครั้ง

การ Click [Apply] จะยังไม่เป็นการ Save ลง Switch นะครับ ให้ Click [Save] ตรง Menu ขวาบนด้วยครับ


ทำ Staic Router

Menu L3 Features --> Static Route --> IPv4 Static Routing

Destination: 0.0.0.0
Subnet Mask: 0.0.0.0
Next Hop: หมายเลข IP ของ Router (192.168.10.1)
Distance: 2




ทดสอบว่า Switch TP-Link ออก Internet ได้หรือไม่ โดยเข้า Menu Maintenance --> Network Diagnostics --> Ping

Ping ไปที่ 8.8.8.8 จะต้องมี Reply กลับมาครับ




ทีนี้จัดการเรื่อง VLAN

Menu L2 Features --> VLAN --> 802.1Q VLAN --> Click [Add]

VLAN ID: 100
VLAN Name: Staff
Untagged Ports: 2, 3, 4




Tagged Ports: 1, 23, 24




VLAN ID: 200
VLAN Name: Guest
Untagged Ports: 2, 5, 6




Tagged Ports: 1, 23, 24




Click [Port Config]

Port 1/0/3, 1/0/4: PVID 100
Port 1/0/5, 1/0/6: PVID 200




Click [Apply] และ Click [Save]

ทดสอบเชื่อมต่อ Wifi ทั้งของ Staff และ Guest


เรียบร้อยครับ  ;D